การสังเกตและเก็บตัวอย่างไลเคน
1. ใช่ไลเคนหรือเปล่า?
ก่อนที่เราจะเก็บตัวอย่างไลเคน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอับดับแรกคือ เราต้องมั่นใจว่าสิ่งที่เรากำลังจะเก็บนั้นคือไลเคนจริง ไม่ใช่รา หรือสาหร่าย หรือพืชชั้นต่ำ หรืออื่น ๆ เนื่องจากไลเคนบางชนิดหรือบางกลุ่มมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาคล้ายกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นมาก เช่น ไลเคนสกุล Cryptothecia มีลักษณะคล้ายกับรามาก สกุล Usnea หรือ Ramalina คล้ายกับต้นเคราฤาษี (spanish moss: Tillandsia usneoides) ซึ่งเป็นพืช สกุล Coenogonium คล้ายกับสาหร่ายบางชนิด สกุล Cladonia คล้ายพืชพวกมอสส์ นอกจากนี้เราต้องแยกให้ออกระหว่างแทลลัสของไลเคนกับเปลือกไม้ เนื่องจากไลเคนบางชนิดมีสีกลมกลืนกับเปลือกไม้ เช่น ไลเคนในกลุ่ม lirellate ดังภาพด้านล่าง
สกุล Cryptothecia |
สกุล Usnea |
สกุล Ramalina |
สกุล Coenogonium |
สกุล Cladonia |
กลุ่ม Lirellate |
2. สิ่งที่เห็นคือไลเคนจริงหรือเปล่า?
เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งที่เรากำลังดูอยู่หรือสิ่งมี่เรากำลังจะเก็บคือไลเคน เนื้อหาต่อไปนี้คือข้อเสนอแนะเบื้องต้นสำหรับการแยกไลเคนออกจากสิ่งมีชีวิตอื่น
ในสภาพธรรมชาติ ไลเคนกลุ่มโฟลิโอสและฟรูทิโคสส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหาในแยกแยะมากนัก เนื่องจากมีลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่เป็นเอกลักษณ์และต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นค่อนข้างชัดเจน ยกเว้น สกุล Usnea, Ramalina, Cladonia, Coenogonium เป็นต้น แต่กลุ่มที่มีปัญหามากคือกลุ่มครัสโตส โดยเฉพาะชนิดที่ไม่พบโครงสร้างสืบพันธุ์ (apothecia, perithecia, soredia, isidia) อย่างชัดเจน เช่น สกุล Cryptothecia เป็นต้น โครงสร้างสืบพันธุ์เหล่านี้เป็นเอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้นักไลเคนมือใหม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนคือไลเคนและสิ่งไหนไม่ใช่ หากเกิดความลังเลหรือสับสนขึ้นในระหว่างการออกภาคสนามให้ลองใช้วิธีการต่อไปนี้เพื่อ make sure ว่าสิ่งที่ท่านกำลังสงสัยอยู่นั้นคือไลเคนหรือเปล่า
1. การพ่นน้ำ พ่นน้ำลงบนพื้นที่ที่เราสงสัยว่าเป็นไลเคน ภายหลังจากที่พ่นน้ำประมาณ 1-2 นาที หากพื้นที่นั้นเปลี่ยนเป็นสีเขียวอย่างชัดเจน แสดงว่าสิ่งที่เรากำลังดูอยู่คือไลเคนจริง (สีเขียวที่เกิดขึ้นคือสีของสาหร่าย)
2. การสะกิด หากการพ่นน้ำแล้วยังไม่สามารถแยกได้ชัดเจน เนื่องจากไลเคนบางชนิดอาจแสดงสีเขียวไม่ชัดเจนหรืออาจจะชัดเกินจนไม่รู้ว่าเป็นไลเคนหรือสาหร่ายกันแน่ หากเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้นให้ลองใช้ใบมีดสะกิดลงบนบริเวณที่เราสงสัยว่าเป็นไลเคน เมื่อสะกิดแล้วหากเป็นไลเคน เราจะสังเกตเห็นชั้นของราและสาหร่ายอย่างชัดเจน อาจใช้แว่นขยายช่วยเพื่อให้สามารถมองเห็นรายละเอียดได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น หากเราเห็นอย่างนี้แล้วก็ให้มั่นใจได้เลยว่าสิ่งนี้คือไลเคน
- แว่นขยายใช้สำหรับดูโครงสร้างบางอย่างของไลเคน
- กล้องถ่ายรูป
- สมุด ดินสอ ปากกา สำหรับจดบันทึก
- GPS (ถ้ามี) สำหรับบันทึกพิกัด
- ซองใส่ตัวอย่างไลเคน
- มีดคัดเตอร์
- กระดาษทิชชูสำหรับห่อตัวอย่าง
- กระบอกฉีดน้ำสำหรับเช็คว่าใช่ไลเคนหรือเปล่าและใช้สำหรับฉีดใส่ไลเคนเพื่อช่วยให้เก็บได้ง่ายขึ้น
- ค้อน สกัดหรือสิ่ว สำหรับเก็บตัวอย่างไลเคนบนหิน
- กระเป๋าเป้ สำหรับใส่ของที่จำเป็นและซองตัวอย่าง
- และอื่น ๆ ที่จำเป็น
![]() |
![]() |
![]() |
ไลเคนกลุ่มครัสโตสซึ่งเป็นกลุ่มที่ยึดติดแน่นกับพื้นที่เกาะอาศัย (ซ้าย), การเก็บตัวอย่างไลเคนบนเปลือกไม้ (กลาง) และการเก็บตัวอย่างไลเคนบนหิน (ขวา) |
2. กลุ่มที่ยึดติดกับพื้นที่ยึดเกาะอย่างหลวม ๆ ไลเคนในกลุ่มนี้ได้แก่ กลุ่มโฟลิโอสบางชนิดและฟรูทิโคส การเก็บกระทำโดยการตัดมาเฉพาะชิ้นส่วนที่จำเป็นเท่านั้น (ไม่เก็บมาทั้งหมด) จากนั้นห่อด้วยกระดาษทิชชูและใส่ซองหรือกล่องแล้วแต่ความเหมาะสม ดังภาพที่ 2 ซ้ายและตรงกลาง
3. การผึ่งตัวอย่าง หลังจากเสร็จจากการเก็บตัวอย่างแล้ว เมื่อกลับมาถึงที่พักควรนำไลเคนออกมาผึ่งให้แห้งเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราขึ้น (ภาพที่ 2ขวา)
![]() |
![]() |
![]() |
ไลเคนกลุ่มฟรูติโคสซึ่งยึดเกาะกับพื้นที่เกาะอาศัยอย่างหลอม ๆ (ซ้าย), การเก็บตัวอย่างไลเคนกลุ่มโฟลิโอสซึ่งยึดเกาะกับพื้นที่ยึดเกาะอย่างหลวม ๆ (กลาง) และการผึ่งตัวอย่าง (ขาว) |