ประวัติการศึกษาไลเคนในประเทศไทย
1. การศึกษาของชาวต่างชาติ
- การศึกษาไลเคนในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2442-2443 โดยกลุ่มนักสำรวจชาวเดนมาร์ก ทำการเก็บรวบรวมตัวอย่างไลเคนที่เกาะช้าง จ. ตราด และส่งตัวอย่างไลเคนเหล่านั้นให้ ไวนิโอ (Vainio) นักพฤกษศาสตร์ชาวฟินแลนด์ เป็นผู้จัดจำแนกชนิด (identify) ซึ่งถือได้ว่าเขาคือคนแรกที่ identify ไลเคนในประเทศไทย
- ต่อมา พ.ศ. 2452 ไวนิโอ (Vainio) ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลการ identify ไลเคน จากเกาะช้าง เขาพบความหลากหลายของไลเคน 95 ชนิด 29 สกุล และพบไลเคนชนิดใหม่ของโลก (new species) ด้วย เอกสารนี้คือผลงานตีพิมพ์เกี่ยวกับไลเคนในประเทศไทยชิ้นแรก (Vainio, 1909)
- พ.ศ. 2464 ไวนิโอได้รายงานการสำรวจไลเคนที่ดอยสุเทพอีกครั้ง
- พ.ศ. 2473 พอลสัน (Paulson) รายงานการสำรวจไลเคนที่เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- พ.ศ. 2505 ซาโต้ (Sato) รายงานการสำรวจไลเคนจากดอยสุเทพและดอยอินทนนท์
- พ.ศ. 2507 เฮล (Hale) และคูโรคาวา (Kurokawa) สำรวจและเก็บไลเคนในประเทศไทย ตัวอย่างถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์พืชในสถาบันสมิธโซเนียน กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา (Smithsonian Institute, Washington D.C.) และพิพิธภัณฑ์แห่งชาติในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (Tokyo National Museum)
- พ.ศ. 2521: เวียงค์เก (Warncke) เก็บรวบรวมไลเคนทางภาคเหนือของประเทศไทย และได้ให้โยชิมูระ (Yoshimura) เป็นผู้ตรวจ
- สอบชนิดสายพันธุ์ ตัวอย่างเหล่านี้ถูกเก็บรักษาที่ Arrhus University ประเทศเดนมาร์ค และ Kochi Gakun College ประเทศญี่ปุ่น
- พ.ศ.2540: โวลส์เลย์และอากิรา - ฮัดสัน (Wolseley and Aquirre - Hudson) เก็บรวบรวมสายพันธุ์ไลเคนในประเทศไทยตามโครงการการใช้ไลเคนเป็นดัชนีบ่งบอกการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมด้วยทุนของพิพิธภัณฑ์ประวัติธรรมชาติแห่งประเทศ
- อังกฤษ (National History Museum, London, England) พื้นที่ศึกษาส่วนใหญ่ อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย และห้วยขาแข้ง ตัวอย่างไลเคนเหล่านี้ถูกเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติธรรมชาติแห่งประเทศอังกฤษ กรมป่าไม้และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
![]() |
![]() |
ไวนิโอ (Vainio) นักพฤกษศาสตร์ชาวฟินแลนด์ บุคคลแรกที่ identify ไลเคนในประเทศไทย (ภาพซ้าย) และภาพขวาคือเกาะช้าง จังหวัดตราด จุดเริ่มต้นของการศึกษาไลเคนในประเทศไทย |
2. การศึกษาโดยชาวไทย
การศึกษาไลเคนโดยชาวไทยเริ่มขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2533 โดย รศ.ดร. กัณฑรีย์ บุญประกอบ ซึ่งใช้ไลเคนเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร
ต่อมา ปี พ.ศ. 2537 เริ่มมีการศึกษาไลเคนอย่างจริงจัง โดยหน่วยวิจัยไลเคนแห่งนี้ เราได้ทำการศึกษาทุกศาสตร์ ทุกแขนงของไลเคน ได้แก่ ด้านอนุกรมวิธาน นิเวศวิทยา สรีรวิทยา สารเคมีในไลเคน การเพาะปลูกไลเคน การแยกสารสกัดจากราที่ก่อให้เกิดไลเคน การนำไลเคนไปใช้ประโยชน์ เป็นต้น
จากรุ่นแรกจนถึงรุ่นปัจจุบัน หน่วยวิจัยแห่งนี้ได้ออกสำรวจไลเคนแทบทุกพื้นที่ในประเทศไทย ตั้งแต่ละติจูดที่ 6 - 26 องศาเหนือ และลองติจูด 97 - 106 องศาตะวันออก ตั้งแต่ระดับความสูงจากน้ำทะเล 0-2,565 เมตร ตั้งแต่ทุ้งหญ้าถึงภูเขาสูง และตั้งแต่บนฝั่งถึงหมู่เกาะที่ห่างไกล แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีพื้นที่อีกมากมายที่รอให้เข้าไปศึกษา เรายังคงมุ่งมั่นและทำงานอย่างขันแข็งเพื่อให้ได้ข้อมูลเหล่านั้นมา เพื่อเป็นคลังความรู้ด้านไลเคนของประเทศสืบต่อไป
![]() |
![]() |
การออกสำรวจและเก็บตัวอย่างไลเคนภาคสนามของหน่วยวิจัยไลเคนและที่อื่น ๆ |