ประโยชน์ของไลเคน
ปัจจุบัน การใช้ประโยชน์จากไลเคนยังมีน้อยเมื่อเทียบกับพืช สัตว์ สาหร่าย รา และแบคทีเรีย แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าไลเคนนั้นไม่มีประโยชน์ ในทางตรงกันข้ามไลเคนสามารถให้ประโยชน์อย่างมากมายเช่นเดียวกับพืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ปัจจัยที่ทำให้ไลเคนไม่เป็นที่รู้จักหรือมีการนำมาใช้ประโยชน์น้อยคือ ปริมาณของไลเคนที่มีอยู่อย่างจำกัดในธรรมชาติ ซึ่งไม่เพียงพอ ยิ่งไปกว่านั้นการปลูกไลเคนขึ้นมาใช้เองยิ่งเป็นหนทางที่ลำบากกว่า เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลานานหรือบางครั้งไลเคนที่นำมาปลูกก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ดังนั้นมนุษย์จึงได้หันไปใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตอื่นแทน
ประโยชน์อย่างหนึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนและกำลังเป็นที่นิยมตลอด 40 ปีที่ผ่านมา คือ การใช้ไลเคนเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพอากาศ ไลเคนสามารถใช้ตรวจวัดคุณภาพอากาศได้อย่างแม่นยำ ใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ใช้ง่าย สามารถบ่งชี้ถึงระดับความเป็นพิษในชั้นบรรยากาศได้อย่างชัดเจน ไลเคนมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในด้านนี้เป็นอย่างยิ่งซึ่งไม่พบในสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ไลเคนสามารถสะท้อนถึงอาการของสิ่งมีชีวิตเมื่อได้รับสารมลพิษทางอากาศได้โดยตรงซึ่งเครื่องมือตรวจวัดไม่สามารถทำได้ เพราะฉะนั้นหลายพื้นที่ทั่วโลกจึงนิยมใช้ไลเคนเป็นตัวตรวจวัดคุณภาพอากาศควบคู่กับการใช้เครื่องมือตรวจวัด
ประโยชน์ของไลเคน ได้แก่
- เครื่องมือประเมินคุณภาพอากาศ
- สีย้อม
- อาหาร
- เครื่องดื่ม
- ยารักษาโรค
- ส่วนผสมเครื่องสำอาง
- ทำกระดาษลิตมัส
- สกัดสารเคมีเพื่อใช้ยับยั้งเชลล์มะเร็ง (Backorova et al., 2010)
![]() |
![]() |
ภาพ แผนที่การประเมินคุณภาพอากาศด้วยไลเคน: แผนที่คุณภาพอากาศของสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร (ภาพช้าย; Boonpeng, 2011) และแผนที่คุณภาพอากาศในเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง (ภาพขวา; Boonpeng, 2016)
ผลิตภัณฑ์จากสีย้อมไลเคน (จาก Parmotrema tinctorum) |
อาหาร |
ลูกอม |
ชา |
น้ำหอม |